ขายฝากที่ดินคืออะไร แตกต่างจากฝากขายอย่างไรบ้าง? 

ขายฝาก
April 2, 2024

เชื่อว่าหลาย ๆ คนจะต้องมีอสังหาริมทรัพย์เป็นที่ดินกันอย่างแน่นอน และในยุคที่เศรษฐกิจซบเซาเช่นนี้ การเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินของเราให้กลายเป็นเงินก้อน จะเป็นเรื่องที่น่าสนใจและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินเป็นเงินก้อนในรูปแบบการขายฝากที่ดิน จะเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม ดังนั้นหากใครสนใจและกำลังอยากจะมีเงินก้อนไปใช้จ่าย หรือไปลงทุน ไปดูกันเลยว่าการขายฝากที่ดินคืออะไร และมีความแตกต่างจากการฝากขายอย่างไรบ้าง 

ขายฝาก คืออะไร มีลักษณะอย่างไรบ้าง 

หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ขายฝากที่ดินคืออะไร และมีลักษณะการขายฝากอย่างไรบ้าง ซึ่งการขายฝากที่ดินนั้น จะเป็นรูปแบบของการทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินประเภทหนึ่ง โดยกรรมสิทธิ์ของที่ดินจะตกไปเป็นของผู้ซื้อฝากทันทีที่มีการจดทะเบียนนิติกรรม แต่ในระหว่างนี้ก็จะเปิดโอกาสให้ผู้ขายฝากสามารถนำเงินมาไถ่ถอนที่ดินคืนได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ส่วนผู้รับซื้อฝากก็จะได้ค่าตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ย ที่สามารถรับได้สูงสุดไม่เกิน 15% ต่อปี และผู้รับซื้อฝากจะได้รับเงินต้นคืนในทันทีเมื่อมีการไถ่ถอน 

ไขข้อสงสัย ขายฝากที่ดินกับฝากขายที่ดิน มีความแตกต่างกันอย่างไร 

หากพูดถึงการฝากขาย และการขายฝากที่ดินนั้น จะมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น 

  • เรื่องคู่สัญญา: การขายฝากจะมีคู่สัญญาเป็นผู้ขายฝาก และผู้รับซื้อฝาก แต่การฝากขายจะเป็นผู้ขายและผู้ซื้อ 
  • ลักษณะธุรกรรม: การขายฝากจะเป็นการขาย และให้โอกาสไถ่ถอนที่ดินคืนได้ แต่การฝากขายจะเป็นการขายขาดให้แก่บุคคลอื่นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ 
  • สิทธิไถ่ถอนคืน: การขายฝากผู้ขายฝากที่ดินสามารถไถ่ถอนที่ดินคืนได้ เพียงแต่จะต้องนำเงินมาไถ่ถอนคืนภายในระยะเวลาที่กำหนดเอาไว้ตามสัญญา แต่การฝากขายจะไม่มีสิทธิที่จะไถ่ถอนที่ดินคืน เนื่องจากเป็นลักษณะการขายขาด และมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของกรรมสิทธิ์ทันทีที่จดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดิน 
  • ค่าตอบแทน: การขายฝากผู้รับซื้อฝากจะได้รับดอกเบี้ยเป็นค่าตอบแทนตามคู่สัญญาที่กำหนดเอาไว้ แต่การฝากขายทางตัวแทนหรือนายหน้าจะได้รับค่ากำเหน็จ หรือค่านายหน้านั่นเอง 

ทุกคนจะเห็นได้เลยว่าการขายฝากที่ดิน จะมีลักษณะที่แตกต่างจากการฝากขายเป็นอย่างมาก ที่สามารถเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน คือ การขายฝากสามารถไถ่ถอนที่ดินคืนได้ตามสัญญาที่ระบุเอาไว้ แต่การฝากขายเมื่อเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์เรียบร้อยแล้ว จะไม่สามารถไถ่ถอนมาคืนได้นั่นเอง 

Tags: